การเลี้ยงแมว

               การเลี้ยงแมว

      แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มนุษย์นิยมนำมาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนมากอีกชนิดหนึ่งรองจากสุนัข เมื่อเรานำมาเลี้ยงแล้ว คงต้องมีความรู้เกี่ยวกับแมวให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะได้ปฏิบัติกับมันอย่างดี มีผลถึงสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของเจ้าเหมียวดีขึ้น
  • การเลี้ยงลูกแมว
การเลี้ยงลูกแมวกำพร้าแม้ต้องมีตารางประจำวันในการให้อาหารที่เหมาะสม การขับถ่ายการเล่นและการนอนหลับ โดยต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกแมวต้องคำนึงถึง

  1. โภชนาการและการหย่านม
  2. สุขอนามัย
  3. อุณหภูมิและความชื้น
  4. การป้องกันโรค
  5. การบำรุงและทำให้เข้ากับสังคม

     ลูกแมวสุขภาพดีจะจ้ำม่ำแข็งแรง มีชีวิตชีวา หลับนาน ลูกแมวที่สุขภาพไม่ดีจะมีกล้ามเนื้อที่ไม่สมบูรณ์ ร้องบ่อยถ้าไม่ช่วยเหลือ อ่อนแอ ซึมเศร้า เฉื่อยชา

โภชนาการและการหย่านม

          ลูกแมวจะได้รับน้ำนมน้ำเหลืองใน 12 ชั่วโมงแรก ลูกแมวจะดูดซึมภูมิคุ้มกันจากน้ำนมน้ำเหลืองได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนับจากคลอด ในกรณีที่แม่แมวไม่สามารถเลี้ยงดูลูกแมวได้ ลูกแมวต้องดูดนมจากขวดหรือหลอดหยดตามแต่จะหาได้  การให้อาหารแบบหลอดผู้ให้ต้องได้รับการฝึกอย่างดี เพราะอาหารอาจเข้าสู่ปอดย่างไม่ตั้งใจทำให้หมดสติ การให้อาหารแบบหลอดจึงเสี่ยง อนุญาตให้ใช้เฉพาะในลูกแมวอ่อนแอซึ่งต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ ควรลูบหลังลูกแมวให้เรอระหว่างให้อาหารและหลังอาหาร โดยนำมันผาดไหล่ ให้ตัวตั้งตรงและตบหลังเบาๆ การให้น้ำนมจากขวดหรือหลอดต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการปอดบวมหรือการสำลักน้ำ
        ใน 24-28 ชั่วโมงแรก ลูกแมวต้องการนม 1 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง แต่ละวันเพิ่มจำนวนขึ้น 0.5 มิลลิลิตร จนถึง 10 มิลลิลิตรต่อมื้อ จึงหยุดเพิ่ม ใน 1 วันลูกแมวควรได้รับอาหาร 6-9 มื้อ
ในช่วง 2 สัปดาห์ ให้อาหารลูกแมว 5-7 มิลลิลิตรต่อครั้ง
ช่วง 3 สัปดาห์ จะเริ่มให้อาหารอ่อน 3 เวลาต่อวัน และยังมีการให้นมจากขวดอยู่
ในสัปดาห์ที่ 4 ลูกแมวควรได้รับน้ำนมจากขวด 4-6 ครั้งต่อวันร่วมกับอาหารอ่อน 4-5 ครั้งต่อวัน ลดการให้อาหารช่วงกลางคืนลง

ลูกแมวจะกินอาหารแข็งได้เมื่ออายุ 7 สัปดาห์

สัญญาณแรกของการเจ็บป่วย คือ น้ำหนักลด น้ำหนักของลูกแมวจะเพิ่มขึ้น 50-100 กรัมต่อสัปดาห์ เมื่อลูกแมวอายุ 14 วัน น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด ถ้าลูกแมวน้ำหนักไม่เพิ่มควรให้อาหารเพิ่มขึ้น

สุขอนามัย

       ลูกแมวเกิดใหม่จะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เพราะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยังเจริญไม่สมบูรณ์ ลูกแมวต้องได้รับการกระตุ้นโดยใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบน้ำอุ่นลูบบริเวณทวารหนัก จะทำให้ลูกแมวปัสสาวะ อุจจาระภายใน 1-2 นาที โดยปกติลูกแมวอายุ 21 วัน จะขับถ่ายของเสียได้เอง หมั่นสังเกตปัสสาวะและอุจจาระของลูกแมว ปัสสาวะปกติควรมีสีเหลืองอ่อนหรือใส ถ้ามันมีสีเหลืองคล้ำหรือส้มแสดงว่าลูกแมวได้รับอาหารไม่เพียงพอ ปกติอุจจาระจะมีสีน้ำตาลจางหรือเข้ม อุจจาระสีเขียวแสดงถึงโรคติดเชื้อ ถ้าอุจจาระแข็งมากแสดงว่าให้อาหารทีละมากๆ แต่ให้ไม่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท้องอืด มีแก๊ส หายใจไม่สะดวก

อุณหภูมิและความชื้น

        ลูกแมวเกิดใหม่ยังไม่สามารถรักษาความร้อนของร่างกาย หรือสั่นตัวเพื่อให้เกิดความร้อนได้ จึงต้องมีที่ให้ความร้อนแก่ลูกแมว เช่น ตู้อบ เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งถูกออกแบบสำหรับลูกสัตว์เกิดใหม่ จะช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสมและควรระมัดระวังอย่าให้ความร้อนสูงเกินไป ควรมีเทอร์โมมิเตอร์ในบริเวณนั้นเพื่อคอยสังเกตอุณหภูมิ ในสัปดาห์แรกอุณหภูมิควรอยู่ที่ 85-90 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้น 55-65% พอ 3 สัปดาห์ลดอุณหภูมิลงเป็น 75 องศาฟาเรนไฮต์ ลองสังเกตถ้าลูกแมวมาอยู่รวมกันแสดงว่ามันหนาวไป แต่ถ้าลูกแมวอยู่ห่างกันคนละมุมแสดงว่าร้อนไป ลูกแมวที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำควรทำให้อบอุ่นอย่างช้าๆ ภายใน 2-3 ชั่วโมง จนลูกแมวมีอุณหภูมิร่างกายปกติ 97 องศาฟาเรนไฮต์
        ควรรักษาความชื้นโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำวางเหนือกล่องที่ลูกแมวอยู่ จะช่วยเพิ่มความชื้นได้ ไม่ควรเลี้ยงลูกแมวในที่อับชื้น หรือบนพื้นที่ผุพัง เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งอาจเกิดโรคทางเดินหายใจได้ การควบคุมอุณหภูมินั้นสำคัญกว่าในเรื่องความชื้น ลูกแมวควรอยู่ในที่ที่มีผิวสัมผัสที่ดี เช่น ผ้าห่ม ขนแกะ จะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกแมว

การป้องกันโรค

            ลูกแมวอาจติดโรคได้ง่าย เช่น โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ถ้าหากไม่ได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ นมน้ำเหลือง 24 ชั่งโมงแรกหลังคลอดจะมีแอนติบอดีมากมาย ซึ่งแอนติบอดีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ลูกแมวที่ไม่ได้กินนมน้ำเหลืองจะมีภูมิคุ้มกันโรคน้อย และควรฉีดวัคซีนให้ลูกแมวด้วย ลูกแมวอาจได้รับอันตรายจากพยาธิ จึงควรถ่ายพยาธิให้ลูกแมว เริ่มเมื่อลูกแมวอายุ 6 สัปดาห์ และถ่ายซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 8 และ 10สัปดาห์

การบำรุงและทำให้เข้ากับสังคม

          เราควรลูบขน กอด และให้ลูกแมวเล่นกับคนประมาณ 30-40 นาทีต่อวัน นอกเหนือจากการให้อาหารและทำความสะอาดให้มัน ลูกแมวต้องการการกระตุ้น ควรปูรองพื้นกล่องที่ลูกแมวนอนด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม ลูกแมวจะอบอุ่นและหลับสบาย สิ่งสำคัญคือทำให้เหมือนลูกแมวเป็นสมาชิกในบ้านในช่วง 3-6 สัปดาห์ จำไว้ว่ามันยังเด็ก ต้องจับอย่างทะนุถนอม แต่ต้องเริ่มฝึกลูกแมวให้คุ้นเคยกับเสียง การขับถ่าย คนแปลกหน้า และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

สรุป ไม่ต้องกังวลว่าการเลี้ยงลูกแมวเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมีหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย ลูกแมวสุขภาพดี มีความสุขที่คุณเลี้ยงมาคือรางวัลที่วิเศษที่สุด


  • การเลี้ยงดูแมวสูงอายุ
การควบคุมดูแลแมวที่มีอายุมากของคุณเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ

      ถ้าแมวที่มีอายุมีท่าทางว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเกี่ยวกับหน้าที่ของระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการมีอายุมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจากการมีโรคเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเตือนให้รู้ว่าเป็นโรคได้แต่เนิ่นๆ ขบวนการ
  1. การควบคุมการกินอาหาร ว่าจะให้กินเมื่อใด กินอาหารประเภทไหน มีการกินหรือการกลืนลำบากหรือเปล่า และอาเจียนหรือไม่
  2. การควบคุมการกินน้ำ โดยดูว่ามีการกินน้ำมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่
  3. การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระโดยดูที่ สี ปริมาณ ความเข้มข้น ความถี่ในการขับถ่าย หรือดูว่ามีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรืออุจจาระหรือไม่ หรือดูว่ามีการขับถ่ายเรี่ยราดหรือไม่
  4. ชั่งน้ำหนักทุกๆ 2 เดือน
  5. มีการตรวจและตัดเล็บ ตรวจดูแผลตามตัว รวมถึงกลิ่นที่ผิดปกติ การขยายใหญ่ของช่องท้องและดูว่ามีอาการขนร่วงหรือไม่
  6. การควบคุมด้านพฤติกรรม ดูการนอน การแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างมีอาการตกใจง่ายหรือไม่ และลักษณะท่าทางการนอนผิดปกติหรือไม่
  7. การควบคุมด้านท่าทางและการเคลื่อนไหว เช่นมีการชักหรือไม่ การสูญเสียการทรงตัว หรือเจ็บขา
  8. ดูความผิดปกติของการหายใจ หรือดูว่ามีการไอ มีการหอบหายใจ การจามหรือไม่
  9. ดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้แมวอย่างสม่ำเสมอ ดูว่ามีสิ่งผิดปกติในปากหรือไม่ ดูปริมาณน้ำลาย และดูลักษณะสีของเหงือกว่าเป็นสีเหลือง ชมพูหรือม่วง
  10. ควบคุมอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมว่าแมวของคุณมีความสุขสบายหรือไม่
  11. พาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ของคุณเป็นประจำ
ลักษณะอาการที่พบบ่อยและโรคที่เกี่ยวข้อง
  1. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความเจ็บปวดจากข้ออักเสบหรือสภาวะอื่นๆ การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน โรคตับ โรคไต โรค Hepatic lipidosis
  2. การอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การทำงานผิดปกติของ Mitral valve โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง โรคอ้อน โรคมะเร็ง
  3. การเปลี่ยนแปลงในด้านความกระตือรือร้นของร่างกาย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรค Hyperthyroidism โรคข้ออักเสบ ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ้วน โลหิตจาง ความผิดปกติของ Mitral valve และโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง
  4. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความอ้วน
  5. น้ำหนักลด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร การกินอาหารลดลง Hyperthyroidism Hepatic lipidosis โรคฟัน ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ Mitral valve โรคหัวใจ การอักเสบของลำไส้
  6. การไอ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคหอบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง
  7. การดื่มมากและปัสสาวะบ่อย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต Hyperthyroidism
  8. การอาเจียน โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคไต โรคตับและโรคของระบบทางเดินอาหาร
  9. อาการท้องเสีย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคของระบบทางเดินอาหาร การอักเสบของลำไส้ โรคไต โรคตับ และอาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารเร็วเกินไป
  10. การชัก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคลมชัก ( Epilepsy ) โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต
  11. อาการลมหายใจเหม็นผิดปกติ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคฟัน โรคมะเร็งในช่องปาก โรคไต
  12. อาการขาเจ็บ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การลุกลำบาก การเดินผิดปกติ ข้ออักเสบ ความอ้วน เบาหวาน
  13. การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือการถ่ายเรี่ยราด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การเป็นเนื่องจากข้ออักเสบ การอักเสบของลำไส้ Bladder stones โรคมะเร็ง
  14. อาการบวมและการกระแทก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ
  15. การเปลี่ยนความอยากของอาหาร โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต ความเครียดและความเจ็บปวดต่างๆ อาจเกิดจากฤทธิ์ของยา โรคปากและฟัน Hyperthyroidism และ Hepatic lipidosis
ที่มา http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/db_directory/cat/rearing/senilecat_rearing.htm