โรคภัยไข้เจ็บของแมว

               
           การเลี้ยงแมวให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และต้านทานโรคต่างๆ ได้ดีนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และมีการจัดการต่างๆ ดีแล้ว การป้องกันโรคก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การป้องกันโรคที่ได้ผลวิธีหนึ่งคือ การให้วัคซีนตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตามช่วงอายุที่เหมาะสมเพื่อให้แมวสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ขึ้นมาในร่างกาย เป็นการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเจ็บป่วยได้โรคสำคัญในแมวที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ เช่น โรคไข้หัดแมว โรคพิษสุนัขบ้าและโรคระบบหายใจ เป็นโรคร้ายแรงและพบได้บ่อย นอกจากนี้โรคแมวยังเกิดจากโรคเชื้อรา พยาธิต่างๆ โปรโตซัว เห็บ หมัด และอาหารพืชสารพิษต่างๆ


โรคพิษสุนัขบ้า
           
        โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเป็นได้ทุกฤดูกาลพบได้ในสัตว์เลื้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดไม่เฉพาะแต่ในสุนัขเท่านั้น ในแมวก็เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เป็นโรคที่แพร่ไปสู่คนได้ด้วย ระยะฝักตัวในแมวประมาณ 9-51 วัน อาการในแมวเทียบเคียงได้กับอาการในสุนัขทุกประการมักพบเห็นอาการตื่นเต้นดุร้ายชัดเจน กระบวนการของโรคโดยทั่วไปสั้นกว่าในสุนัข
         การฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าในแมว ลูกแมวที่ได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ควรได้วัคซีนอีครั้งตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไปและต้องให้วัคซีนเชื้อตายเท่านั้น ส่วนการฉีดวัคซีนครั้งต่อไปให้คือ ปฏิบัติเช่นเดียวกับสุนัข คือฉีดซ้ำทุกๆปีๆละครั้ง


โรคหัดแมว
 
         มักเป็นกับแมวเล็ก แมววัยรุ่น ถ้าเป็นแล้วมักจะตาย และติดต่อกันได้รวดเร็ว แมวมีอาการซึมไม่กินอาหาร มีไข้สูงเพียงแค่ 1 วันมันจะเป็นอัมพาตขาทั้งสี่ข้างเดินไม่ได้ทั้งที่มันพยายามจะลุกขึ้นยืนและในไม่ช้ามันก็ขะตายไป รักษาไม่หายเกิดจากเชื้อไวรัส
         การป้องกันรักษา ต้องน้ำแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันเมื่อแมวอายุได้ 22 เดือน และให้ไปฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่อ 6 เดือน และฉีดซ้ำทุกปี


โรคหวัดในแมว
 
         เกิดเชื้อไวรัสพวก Herpes virus หรือ Picorma virus หรือ Reo virus ซึ่งกลุ่มอาการของโรคเหล่านี้รวมเรียกว่า "CAT FUL" หรือโรคหวัดในแมวนั้นเอง อาการน้ำมูกไหลจากจมูก


โรคกลากเกลื้อนในแมว
 
         เกิดจากเชื้อราตระกูล Microsporum หรือ Trichophyton ก็ได้ จะเห็นเป็นเส้นขนหักอยู่บนศรีษะ ที่หน้าที่เท้าจนเตียนโล่งอยู่เป็นหย่อมๆ รูปวงกลมหรือวงรีก็ได้ซึ่งจะมี่ขอบเขตให้เห็นได้ชัดเจน เป็นโรคที่ติดต่อไปสู่คนได้

 
ดีซ่าน
 
        ดีซ่านเป็นลักษณะที่แสดงถึงการที่มีระดับมิลิรูบิน ในกระแสเลือดเพิ่มมากกว่าปกติ มีการสะสมของรงควัตถุของน้ำดีในเนื้อเยื้อต่างๆ รวมทั้งเนื้อเยื่อชุ่มและผิวหนัง พบได้ในแมวที่มีผลจากโรคตับ
อาการที่พบนอกจากอาการของโรคตับ คือ เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ ซึม ขาดน้ำ น้ำหนักลด หมดความรู้สึก สาเหตุใหญ่ของการเกิดดีซ่านคือ การอักเสบของตับ และท่อน้ำดี

 
พยาธิไส้เดือน
        
        พยาธิไส้เดือนที่พบในแมวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Toxocara catiลักษณะคล้ายไส้เดือนตัวกลมๆ ยาวๆ ลูกแมวอาจได้รับพยาธิตัวนี้มาตั้งแต่ได้รับในช่วงกินน้ำนมแม่ วงจรชีวิตเริ่มจากการไข่แล้วฟักเป็นตัวอ่อนเจริญเต็มวัยในลำไส้จะไปแย่งอาหารทำให้แมวมีอาการผอมลง อ่อนแอโรคแทรกซ้อนได้ง่าย นอกจากนี้ตัวอ่อนของพยาธิยังเคลื่อนย้ายเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ด้วย ลูกแมวอาจติดจากแม่แมวโดยการกินนมแม่หรือการปนเปื้อนในอาหารหรือเลียตามพื้นที่นอน และติดต่อมาสู่คนได้ด้วย

การป้องกันกำจัด
 
1.ทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ ระวังการปนเปื้อนเรื่องอาหารและน้ำ
2. ใช้ยากำจัดพยาธิ เช่น สารประกอบปิปเปอราซีน หรือใช้สาร ไพเรนเทลพาโมเอท หรือใช้ถ่ายพยาธิที่มีฤทธิ์กว้างคือ ฆ่าได้ทั้งพยาธิตัวกลม ตัวแบนและพยาธิแซ่ม้า เช่น ยาเฟนเบนดาโซล หรือมีเบนดาโซลการถ่ายพยาธิให้ลูกแมวเมื่ออายุ 14 วัน, 35 วัน และ 77 วันตามลำดับเหตุที่ต้องใช้ยาถ่ายพยาธิถึง 3 ครั้ง เพราะว่าลูกแมวบางครั้งยังไม่อดนมก็มีโอกาสติดพยาธิจากนมแม่ได้อีก และในนมแม่แมวก็ต้องถ่ายพยาธิด้วยโดยให้ยา 2 ครั้ง ในช่วง10-14 วันหลังคลอด นอกจากนี้ควรนำแมวไปตรวจพยาธิทุกๆ ปีๆ ละ 1-2 ครั้ง

 

โรคจากเชื้อรา
 
        โรคราที่สำคัญคือ สปอโรทริโคซีส หรือฟิลายสปอร์โรทริโคซีสเป็นเชื้อราที่ชอบก่อให้เกิดโรคในแมวและติดต่อสู่คนได้ง่ายโดยการสัมผัสในแมวด้วยกันอาจติดต่อได้จากการเล่นกันกับเชื้ออาจติดอยู่ที่อุ้งเท้า เชื้อราตัวนี้ทำให้เกิดแผลได้ทั่วตัวแต่ที่พบบ่อยคือ บริเวณส่วนปลายของอวัยวะส่วนปลาย เช่น หัวใต้คาง ออกเป็นแผลเล็กๆ ก่อนมีน้ำเหลวเยิ้มหรือเป็นแผลทะลุลงไป แต่ถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าร่วมด้วย อาจเป็นฝีเชื้ออักเสบลุกลามซึ่งแมวจะคันมากมันจะเกาะและกัดบริเวณแผลต่อไปจะเกิดเป็นตุ่มนูนหรือแผลหลุมลึกขึ้นจนเป็นโพรงใหญ่ในชั้นใต้กล้ามเนื้ออาจจะทะลุถึงกระดูก สุดท้ายโดรคอาจไม่ลุกลามคือ เกิดเฉพาะที่หรืออาจลุกลามไปตาม ท่อน้ำเหลืองการติดเชื้อโดยการสัมผัสจึงต้องระมัดระวังติดต่อเข้าสู่คน ส่วนการรักษาอาจใช้ยาต่อไปนี้
1. ใช้โปรแตสเซียม หรือโซเดียมไอโอไดด์ สำหรับพวกไอโอไดด์รักษาได้ทั้งอาการที่เป็นเฉพาะที่ หรือลุกลามไปตามท่อน้ำเหลือง โดยใช้สารไอโอไดด์ 20% ในขนาด 0.1 มก./น้ำหนักสัตว์ 1 กก. โดยให้แมวกินทุกๆ24 ชั่วโมง แต่แมวบางตัวอาจแพ้ยานี้ได้ เช่นเกิดอาการอาเจียนหรือไม่กินอาหารอาจต้องลดขนาดยาลงหรือหยุดใช้ยาทันที
2.ใช้ เอ็มโฟเทอราซีน-บี

ที่มา http://women.sanook.com/pets/tips_49454.php